https://assets.hillrom.com/is/image/hillrom/icu_Liko_1649HR-card?$recentlyViewedProducts$
article-detail-page
knowledge
search
language
keyboard_arrow_left
สิงคโปร์
ภาษาไทย

การลดระยะเวลาที่อยู่ในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก(ICU) โดยเริ่มการเคลื่อนไหวผู้ป่วยให้เร็วขึ้น

ผู้ดูแลสองคนกำลังช่วยผู้ป่วยด้วยอุปกรณ์เคลื่อนย้าย

ผู้ป่วยที่อยู่ในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก (ICU) อาจส่งผลระยะยาวต่อผู้ป่วยแม้ภายหลังจากอาการคงที่แล้ว1 ผู้ป่วยจำนวนมากประสบปัญหาคุณภาพชีวิตแย่ลงเป็นเวลาหลายปีภายหลังการรักษาในช่วงแรก1 ปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยพักในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก(ICU) ซึ่งพวกเขาไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นระยะเวลานาน1

การไม่ได้เคลื่อนไหวนานๆเมื่ออยู่ในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก(ICU) เชื่อมโยงไปถึงอาการกล้ามเนื้อลีบ การเพ้อ ปัญหาทางด้านปอด ผิวหนังสลายตัว การติดเชื้อแบคทีเรีย และอารมณ์ซึมเศร้า2 ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วย เพิ่มต้นทุนในการรักษา และในบางกรณีอาจถึงแก่ชีวิตได้312

ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลและระยะเวลาในการพักรักษาตัว อาจส่งผลให้ผู้ป่วยไม่บรรลุเป้าหมายด้านการเคลื่อนไหว:

  • ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจอาจหมายถึงระยะเวลาการพักรักษาตัว(LOS)ในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก(ICU) เพิ่มขึ้นอีก 10-11 วัน3
  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทเพิ่มค่ารักษาพยาบาลรายปีเพิ่มขึ้นได้ถึง 60,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 100 เตียง59
  • การบาดเจ็บจากแรงกดในขั้นที่ 3 และ 4 สามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายได้ถึง 43,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 100 เตียง4, 13
  • สูญเสียความแข็งแรงมากถึง 50% ภายใน 3-5 วันแรก1012

การเคลื่อนไหวในระยะแรกเป็นส่วนสำคัญของ ICU Liberation Bundleที่ยังรู้จักในอีกชื่อว่าโปรแกรม ABCDEFG Bundle นี่คือแนวทางตามหลักฐานที่ใช้ในการส่งเสริมการประเมิน การป้องกัน และการจัดการผู้ป่วยในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก (ICU) แบบบูรณาการ14 เมื่อดำเนินแนวทางนี้ด้วยกันสามารถลดอาการเพ้อ ปรับปรุงการจัดการความเจ็บปวด และลดผลกระทบระยะยาวสำหรับผู้ป่วยในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก (ICU)14 โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบการเคลื่อนไหวในระยะแรกได้รับการออกแบบมาเพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วย เช่น วันที่ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาการเข้าพัก15

วิธีช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวในระยะแรก

อุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยและโรงพยาบาลจำนวนมากในการเคลื่อนไหวในระยะแรกสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยเทคโนโลยี การสนับสนุนและการศึกษาของเจ้าหน้าที่ โปรโตคอลของโรงพยาบาลและการสื่อสาร

อุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย

ภาวะสัญญาณชีพไม่คงที่เป็นอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยต่อการเคลื่อนไหวในระยะแรกซึ่งเกิดขึ้นบ่อยที่สุด16 อุปสรรคอื่น ๆ รวมไปถึงภาวะการหายใจไม่คงที่ การต่อท่อ การต่อสายระบาย และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษา16 โปรโตคอลที่มีเกณฑ์การเข้าและการออกสำหรับการเคลื่อนไหวสามารถช่วยกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านการเคลื่อนไหวตามหลักฐานทางการแพทย์และตอบสนองต่อกิจกรรมการเคลื่อนไหว16

อุปสรรคทางวัฒนธรรมของหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก(ICU)

เจ้าหน้าที่อาจไม่เห็นว่าการเคลื่อนไหวในระยะแรกนั้นสำคัญในการดูแลผู้ป่วยรายวันในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก(ICU) การแบ่งปันงานเขียน วิดีโอ และการศึกษาอาจช่วยได้16 การกำหนดเป้าหมายแบบร่วมมือกันและการมีส่วนร่วมระหว่างวิชาชีพยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการตัดสินใจด้านการเคลื่อนไหวอีกด้วย16

อุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ

การตรวจคัดกรองการเคลื่อนไหวเพื่อกิจกรรมที่เหมาะสมอาจล่าช้าหรือพลาดไป ความแตกต่างในการประเมินด้านความพร้อมในการเคลื่อนไหวและการขาดการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการด้านการดูแลอาจทำให้กิจกรรมการเคลื่อนไหวหยุดชะงักหรือล่าช้า การสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ เช่น การประชุมระหว่างผู้เชี่ยวชาญ และเอกสารทางการแพทย์ที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว ยังช่วยในการทำงานร่วมกันและใช้ในการประเมินความก้าวหน้าของผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น16, 17

วิธีการนำเทคโนโลยีมาช่วยเหลือ

ระบบยกเหนือศีรษะและเคลื่อนย้าย เช่น ระบบเคลื่อนย้ายเหนือศีรษะ Likorall®ช่วยให้ผู้ให้บริการดูแลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องเครียด และในขณะเดียวกันก็รักษาผู้ป่วยให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

ระบบเตียงพร้อมการบำบัดด้วยการหมุนพลิกตัวด้านข้างต่อเนื่อง 90 องศาหรือการขยายปอดและการบำบัดด้วยการเคาะและการสั่นสะเทือนสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของการไม่สามารถเคลื่อนไหวได้  ระบบเตียง Progressa® รวมคุณลักษณะหลักเหล่านี้และสนับสนุนการเคลื่อนย้ายในช่วงแรกผ่านมุมและตำแหน่งที่ยืดหยุ่นได้ ซึ่งรวมถึงลุกออกจากเก้าอี้(Chair Egress) เพื่อช่วยในการทำกายภาพบำบัด

การบำบัดด้วยการขยายปอดยังสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจได้มากถึง 50% หลังการผ่าตัด และลดระยะเวลาพักรักษาตัว(LOS)ในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก(ICU)และโรงพยาบาล3, 18  ระบบ MetaNeb® ผสมผสานการบำบัดด้วยการสั่นและการขยายตัวของปอด (OLE) กับการใช้ยาฝอยละอองในวงจรการบำบัดแบบบูรณาการเพียงครั้งเดียว ด้วยการลดเวลาในการรักษาให้เหลือเพียง 10 นาที ระบบ MetaNeb® จะเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดแก่แพทย์และผู้ป่วย

ประโยชน์ของโปรแกรมการเคลื่อนไหวในระยะแรก

โปรแกรมการเคลื่อนไหวในระยะแรกที่ครอบคลุมยังสามารถปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ โปรแกรม Progressive Mobility® ซึ่งรวมเข้ากับระบบเตียงหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก(ICU)และอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยอาจนำไปสู่19, 20:

  • ลดระยะเวลาการพักรักษาตัว(LOS)ในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก(ICU)ลง 36%
  • ลดระยะเวลาการพักรักษาตัว(LOS)ในโรงพยาบาลโดยรวมถึง 33%
  • ลดจำนวนวันใช้เครื่องช่วยหายใจลง 46%
  • ลดต้นทุนโดยรวมของโรงพยาบาลลง 30%

สรุป

การเคลื่อนไหวในระยะแรกสามารถส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยในหน่วยดูแลผู้ป่วยหนัก(ICU) น่าเสียดายที่ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วย ปัจจัยด้านโครงสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ และด้านวัฒนธรรม อาจทำให้การเคลื่อนไหวช้าลง และส่งผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วย การเคลื่อนไหวในระยะแรกและความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนสามารถปรับปรุงได้โดยการดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัย อุปกรณ์ที่เหมาะสม และระบบการเฝ้าติดตาม

เอกสารอ้างอิง

1. Schujmann DS, Lunardi AC, Fu C. Progressive mobility program and technology to increase the level of physical activity and its benefits in respiratory, muscular system, and functionality of ICU patients: Study protocol for a randomized controlled trial. Trials. 2018;19(1):1-10.

2. Krupp A, Ehlenbach W, King B. Factors nurses in the intensive care unit consider when making decisions about patient mobility. Am J Crit Care. 2015;24(800):474-479.

3. Restrepo MI, Anzueto A, Arroliga AC, et al. Economic Burden of Ventilator‐Associated Pneumonia Based on Total Resource Utilization. Infect Control Hosp Epidemiol. 2010;31(5):509-515.

4. Graves N, Birrell F, Whitby M. Effect of Pressure Ulcers on Length of Hospital Stay. Infect Control Hosp Epidemiol. 2005;26(3):293-297.

5. Leslie WD, O’Donnell S, Jean S, et al. Trends in hip fracture rates in Canada. JAMA - J Am Med Assoc. 2009;302(8):883-889.

6. Bell L. AACN practice alert: Delerium assessment and managementt. 2011.

7. Pisani MA, Murphy TE, Van Ness PH, Araujo KLB, Inouye SK. Characteristics associated with delirium in older patients in a medical intensive care unit. Arch Intern Med. 2007;167(15):1629-1634.

8. Pandharipande P, Cotton BA, Shintani A, et al. Motoric subtypes of delirium in mechanically ventilated surgical and trauma intensive care unit patients. Intensive Care Med. 2007;33(10):1726-1731.

9. Ely E, Siegel MD, Inouye M.D. SK. Delirium in the intensive care unit: An under-recognized syndrome of organ dysfunction. Semin Respir Crit Care Med. 2001;22(02):115-126. http://www.thieme-connect.de/DOI/DOI?10.1055/s-2001-13826. Accessed January 20, 2020.

10. Scott RD. The direct medical costs of healthcare-associated infections in U.S. hospitals and the benefits of prevention. enters Dis Control Prev. 2009;(March):13. http://www.cdc.gov/hai/pdfs/hai/scott_costpaper.pdf. Accessed January 20, 2020.

11. Nigam Y, Knight J, Jones A. Effects of bedrest 3: musculoskeletal and immune systems, skin and self-perception. Nurs Times. 2009;105(23):18-22.

12. Halar EM. (2001). Disuse Syndrome. 1994. Demos Publishing Med.

13. Medicare program: changes to the hospital inpatient prospective payment systems and fiscal year 2009 rates. Fed Regist. 2008;73(161):48433-49084. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18956499. Accessed January 20, 2020.

14. Marra A, Ely EW, Pandharipande P, Patel MB. The ABCDEF Bundle in Critical Care. 2018;33(2):225-243.

15. Dirkes SM, Kozlowski C. Early mobility in the intensive care unit: Evidence, barriers, and future directions. Crit Care Nurse. 2019;39(3):33-42.

16. Dubb R, Nydahl P, Hermes C, et al. Barriers and strategies for early mobilization of patients in intensive care units. Ann Am Thorac Soc. 2016;13(5):724-730.

17. Miller MA, Govindan S, Watson SR, Hyzy RC, Iwashyna TJ. ABCDE, but in that order? A cross-sectional survey of Michigan intensive care unit sedation, delirium, and early mobility practices. Ann Am Thorac Soc. 2015;12(7):1066-1071.

18. Rosenthal VD, Álvarez-Moreno C, Villamil-Gómez W, et al. Effectiveness of a multidimensional approach to reduce ventilator- associated pneumonia in pediatric intensive care units of 5 developing countries: International Nosocomial Infection Control Consortium findings. Am J Infect Control. 2012;40(6):497-501.

19. Klein K, Mulkey M, Bena JF, Albern NM. Clinical and Psychologic Effects of Early Mobilization in Patients Treated in a Neurologic ICU: A Comparative Study. Critical Care Medicine. 2015;43(4):865-873.

20. Klein K, Bena JF, Albert, NM. Impact of Early Mobilization on Mechanical Ventilation and Cost in Neurological ICU. Am J Respir Crit Care Med. 2015;191:A2293.